หลังการประกอบเครื่องเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งหนึ่งที่ควรทำก็คือการปรับแต่งค่าต่าง ๆ ของระบบเพื่อการทำงานเป็นไปอย่างถูกต้อง เช่น การกำหนดวัน/
เวลาให้กับระบบ กำหนดลำดับของอุปกรณ์เพื่อใช้เป็นตัวบู๊ตเครื่อง เป็นต้น ค่าต่าง ๆ เหล่านี้เราสามารถกำหนดได้จากหน้าจอปรับแต่ง BIOS ซึ่งทางผู้ผลิตได้กำ
หนดค่าเบื้องต้นไว้ส่วนหนึ่งแล้ว แต่เราสามารถปรับแต่งเพิ่มเติมภายหลังได้ตามความต้องการ
1. ทำความรู้จัก BIOS
BIOS ย่อมาจากคำว่า Basic Input/Output System ถูกเก็บอยู่ภายใน CMOS ซึ่งเป็นหน่วยความจำแบบ ROM (Read Only Memory) ทำหน้าที่เก็บ
ค่าต่าง ๆ ที่กำหนดการทำงานเริ่มต้นของระบบ เช่น ค่าวันและเวลาของระบบ, กำหนดรหัสผ่านเพื่อเข้าเครื่อง, กำหนดลำดับอุปกรณ์ในการบู๊ตระบบ เป็นต้น ซึ่งค่า
ต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
หน้าจอปรับแต่งค่า BIOS อาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตและรุ่นของ BIOS ที่ติดตั้งมากับเมนบอร์ด โดย BIOS ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันคือ BIOS จาก
Award และ AMI (American Megatrends, Inc.)

ในที่นี้จะกล่าวถึง BIOS ของ AMI เวอร์ชั่นใหม่เป็นหลัก ซึ่งมักใช้กับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ ในปัจจุบัน เช่น เมนบอร์ดของ Pentium 4 เป็นต้น
1.1 ขั้นตอนการตรวจสอบระบบของ BIOS
บทบาทสำคัญอีกประการหนึ่งของ BIOS ก็คือ เมื่อเราเปิดเครื่อง หรือบู๊ตเครื่องใหม่ BIOS จะเริ่มต้นตรวจสอบการทำงานของระบบ และแจ้งรายละเอียดที่
ได้จากการทดสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ทราบในขั้นนี้เราจะเห็นรุ่นซีพียูที่ใช้ และตัวเลขวิ่งอยู่ (ซึ่งเป็นตัวเลขความจุของแรม) เราเรียกขั้นตอนนี้ว่า POST (Power-
On Self Test) เมื่อสิ้นสุดขั้นตอนเหล่านี้ BIOS จะโหลดระบบปฏิบัติการขึ้นมา แล้วเริ่มต้นดำเนินการต่อไป
1.2 เข้าสู่หน้าจอปรับแต่ง BIOS
วิธีเข้าสู่การกำหนดค่า BIOS ให้เรากดปุ่ม <Delete> (หรือ <Del>) ในช่วงเวลาขณะที่แสดงข้อความสั้น ๆ ที่อยุ่ด้านล่างของจอภาพ ดังรูป

ในที่นี้การปรับแต่งค่าต่าง ๆ ใน BIOS จะขอกล่าวถึงเฉพาะค่าที่จำเป็นเท่านั้นซึ่งแต่ละเครื่องอาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรุ่นของ BIOS ในแต่ละเครื่อง
ซึ่งเราควรตระหนักว่าค่าต่าง ๆ ในหนังสือเล่มนี้ อาจจะไม่ตรงกับหน้าจอ BIOS ของเครื่องที่ใช้งานอยู่แต่ในรายละเอียดหลัก ๆ ที่ใช้กันอยู่สม่ำเสมอนั้น ใน BIOS
ทุกรุ่นจะมีเหมือน ๆ กัน ซึ่งเราจะมาเรียนรู้รายละเอียดหลัก ๆ กันตอไป
1.3 ปุ่มควบคุมการปรับแต่งค่า BIOS
เมื่อเข้าสู่หน้าจอของการปรับแต่งค่า BIOS ซึ่งในหน้าจอนี้เราสามารถเลือกเมนูการทำงานได้จากปุ่มบนคีย์บอร์ดเท่านั้น โดยปุ่มต่าง ๆ สำหรับควบคุมการ
ทำงานของหน้าจอ BIOS มีดังต่อไปนี้

2. เมนูการปรับแต่งค่าใน BIOS
เมื่อเราเข้าสู่หน้าต่างหลักสำหรับกำหนดค่าการทำงานของ BIOS ก็จะมีรายการต่างๆ ให้เราเลือกและกำหนดค่าเหล่านั้นได้ง่าย ๆ คล้ายการเลือกเมนูต่างๆ
ในหน้าต่างการทำงานของ Windows นั่นเอง

เราสามารถกดปุ่มลูกศรบนคีย์บอร์ดเลื่อนแถบสีไปยังรายการ หรือเมนูที่ต้องการปรับแต่ง แล้วเลื่อนปุ่มลูกศรลงมาทางด้านล่าง เพื่อเลือกรายการตัวเลือก
เหล่านั้น และปรับค่าหรือคุณสมบัติใหม่ตามต้องการ สำหรับภาพรวมของการกำหนดค่าต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายใน BIOS โดยเรียงลำดับ มีรายละเอียดดังนี้
เมนูตัวเลือกใน BIOS คำอธิบาย
Main เมนูมาตรฐานที่มีอยู่ใน BIOS ของพีซีทุกครื่อง สำหรับกำหนดค่า
พื้นฐานต่าง ๆ เช่น ค่าวัน/เวลาของระบบ ไดรว์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่บน
เครื่องดูข้อมูลของระบบ เป็นต้น
Advanced เมนูพิเศษของ BIOS นั้น ๆ ซึ่งจะมีเมนูย่อยลงไปอีก เช่น
CPU Configuration กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณสมบัติของซีพียู เช่น ความ
เร็วบัส ตัวคูณ เป็นต้น
Chipset เมนูพิเศษที่สนับสนุนระบบชิปเซ็ต เช่น กำหนดมาตรฐานการทำ
งานของฮาร์ดดิสก์, การแสดงผล, แรม รวมทั้งรูปแบบการเชื่อมต่อ
ต่าง ๆ (ช่องสล็อต และพอร์ตเชื่อมต่อ)
Onboard Devices
Configuration กำหนดค่าของระบบการทำงาน อินพุต/เอาต์พุต ของอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่ติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ด (Onboard) เช่น ชิปเสียง เป็นต้น
PCI PnP เมนูสนับสนุนการตรวจสอบอุปกรณ์ ที่ติดตั้งใหม่โดยอัตโนมัติ
(Plug&Play) และกำหนดค่าตัวเลือกในการใช้ PCI Bus
Power กำหนดรูปแบบการใช้พลังงานรวมของระบบ เพื่อให้เกิดการประ
หยัดพลังงานมากที่สุด
Boot กำหนดการทำงานเกี่ยวกับการบู๊ตเครื่อง
Boot Device Priority กำหนดลำดับการค้นหาไฟล์ของระบบปฏิบัติการ จากอุปกรณ์ต่างๆ
ที่อยู่บนเครื่อง (ฮาร์ดดิสก์, ฟล็อปปี้ไดรว์, ซีดีไดรว์)
Security กำหนด/เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกรหัสผ่าน การเข้าใช้งานเครื่องพีซี
หรือเข้าปรับแต่ง BIOS
Exit เลือกบันทึกค่าการปรับแต่ง และออกจากหน้าจอ BIOS หรือออก
จากหน้าจอ BIOS โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าก็ได้
โดยในแต่ละเมนูหลักนั้น เมื่อเราเลือกเข้าไปจะพบกับเมนูย่อย ๆ ให้เราเลือกปรับแต่งค่าที่ต้องการได้ต่อไป
3. เมนู Main : กำหนดค่ามาตรฐานของระบบ
สำหรับเมนูแรกนี้ เป็นส่วนเกี่ยวกับการตั้งค่าระบบของเครื่อง เช่น การปรับแต่งค่าวันและเวลา กำหนดชนิดของฮาร์ดดิสก์ (ส่วนใหญ่มักกำหนดเป็น Auto
เพื่อให้เครื่องค้นหาเองโดยอัตโนมัติ) ขนาดของฟล็อปปี้ดิสก์ หรือการเข้าดูรายละเอียดข้อมูลของระบบ เป็นต้น โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้


สำหรับช่องเชื่อมต่ออุปกรณ์ IDE ทั้งหมดที่อยู่ในเมนูนี้ จะถูกกำหนดให้มีการค้นหาอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่แบบอัตโนมัติ เมื่อคอมพิวเตอร์บู๊ตเครื่องขึ้นมา ซึ่ง
นอกจากนั้นเรายังสามารถเข้าไปดูรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ รวมทั้งกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ โดยเลือกเมนูช่องต่อ IDE นั้น ๆ และกด <Enter>

4. เมนู Advanced : ปรับแตงการทำงานของระบบ
ในเมนู Advanced นี้ จะเป็นการปรับแต่งค่าเกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบที่ติดตั้งบนเมนบอร์ด เช่น ซีพียู, ชิปเซ็ต, ชิปการทำงาน
ต่าง ๆ ที่ถูกติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ด ระบบบัส PCI เป็นต้น ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์นั้น ๆ ด้วย โดยมีเมนูย่อย ๆ สำหรับแต่ละ
อุปกรณ์ ดังรายการต่อไปนี้

4.1 เมนู JumperFree Configuration
ในส่วนนี้เป็นการกำหนดค่าเกี่ยวกับ การเซตค่าการทำงานของระบบบัสบนเมนบอร์ด ช่องทางการรับ/ส่งข้อมูลของบัสต่าง ๆ เช่น บัสของระบบ, ช่องทาง
การรับ/ส่งข้อมูลของแรม, ช่องทางของสล็อต PCI/AGP เป็นต้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้

4.2 เมนู CPU Configuration
ในเมนู CPU Configuration นี้ จะเป็นการเ้ข้าดู หรือปรับแต่งค่าคุณสมบัติของซีพียู เช่น ผู้ผลิต และรุ่นของซีพียูที่ใช้งานอยู่ ความเร็วและความถี่ FSB
ของซีพียู เป็นต้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้


4.3 เมนู Chipset
การปรับแต่งค่าต่าง ๆ ในหน้าจอเมนูย่อย Chipset น้ จะแต่กต่างกันไปในแต่ละเครืี่อง ขึ้นอยู่กับความสามารถของชิปเซ็ตที่อยู่บนเมนบอร์ดของเรา (ดังนั้น
การกำหนดค่าต่าง ๆ ในหัวข้อนี้ อาจจะใช้ไม่ได้กับชิปเซ็ตในเมนบอร์ดของเรา) โดยเฉพาะการทำงานของสล็อตเชื่อมต่อต่าง ๆ เช่น สล็อตติดตั้งแรม สล็อตแบบ
PCI และสล็อต AGP เป็นต้น

รายละเอียดของตัวเลือกต่าง ๆ ในหน้าจอเมนูย่อย Chipset
ตัวเลือกที่ใช้ คำอธิบาย
Configure DRAM Timing
by SPD เลือกเปิดการกำหนด/ปรับแต่งหน่วยความจำด้วยการใช้ SPD (Serial
Presence Detect) ซึ่งจะช่วยให้เมนบอร์ดสามารถปรับค่าการทำงาน
ของหน่วยความจำได้ดีที่สุด ตามประเภทของหน่วยความจำที่ใช้อยู่
แบบอัตโนมัติ
Memory Acceleration Mode กำหนดโหมดการทำงานของหน่วยความจำ ในที่นี้เรากำหนดเป็นแบบ
อัตโนมัติ (Auto)
DRAM Reflesh Rate กำหนดอัตราการรีเฟรชของหน่วยความจำ ในที่นี้เรากำหนดเป็นแบบ
อัตโนมัติ (Auto)
Graphic Adapter Priority กำหนดลำดับประเภทของช่องติดตั้ง เพื่อใช้เชื่อมต่อกับการ์ดแสดงผล
ในที่นี้เราเลือก AGP/PCI
Graphics Aperture Size กำหนดขนาดของหน่วยความจำ ที่ใช้สำหรับอ้างอิงถึงการ์ดจอที่ติดตั้ง
อยู่บนสล็อต AGP
ICH Delayed Transaction กำหนดการหน่วงเวลาการทำงานของระบบบัส เพื่อให้เกิดการทำงาน
พร้อมเพรียงกันระหว่างบัสที่มีความเร็วตา่งกัน
4.4 เมนู Onboard Devices Configuration
เป็นการกำหนดค่าเกี่ยวกับชิปการทำงานต่าง ๆ ที่ติตดั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ด (Onboard) เช่น ชิปเสียง ชิปเครือข่าย (LAN) พอร์ตอนุกรม (Serial Port)
และพอร์ตขนาน (Parallel Port) เป็นต้น ดังรายการ ดังต่อไปนี้

รายละเอียดของตัวเลือกต่าง ๆ ในหน้าจอเมนูย่อย Onboard Devices Configuration
ตัวเลือกที่ใช้ คำอธิบาย
Onboard AC'97 Audio กำหนการทำงานให้กับชิปเสียง AC'97 Audio ที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด
Onboard LAN เปิด/ปิดการใช้งานของพอร์ตเครือข่าย LAN ที่มากับเมนบอร์ด
Serial Port1 Address ระบุตำแหน่งอ้างอิง IRQ ของพอร์ตอนุกรมพอร์ตแรก
Parallel Port Address ระบุตำแหน่งอ้างอิง IRQ ของพอร์ตขนาน
Onboard Game/MIDI Port เปิด/ปิดการใช้งานของพอร์ต Game/MIDI ที่ติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ด
4.5 เมนู PCI/PnP
ส่วนนี้เป็นการกำหนดค่าเกี่ยวกับการทำงานของสล็อต PCI (Peripheral Component Interconnect) บนเมนบอร์ด รวมทั้งความสามารถในการตรวจ
สอบอุปกรณ์ที่ถูกติดตั้งเข้ามาใหม่ของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การกำหนดค่าในส่วนนี้คงไม่จำเป็นมานัก เพราะเราเพียงติดตั้งการ์ดลงบนสล็อต
PCI และลงไดรเวอร์ให้ก็สามารถใช้งานได้

รายละเอียดของตัวเลือกต่าง ๆ ในหน้าจอเมนูย่อย PCI/PnP Settings
ตัวเลือกที่ใช้ คำอธิบาย
Plug And Play O/S กำหนดการจัดสรรอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งโดยระบบปฏิบัติการ ซึ่งค่านี้
ส่วนใหญ่จะถูกกำหนดเป็น No เพื่อให้การจัดสรรทำโดย BIOS มาก
กว่า เพื่อไม่ให้มีปัญหาในขั้นตอนการบู๊ตเครื่อง ซึ่งยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ
ปฏิบัติการ
PCI Latency Timer กำหนดช่วงการหน่วงเวลาสำหรับการ์ดที่ใช้กับสล็อต PCI ค่านี้ควร
เลือกกำหนดตามคู่มือเมนบอร์ดรุ่นนั้น ๆ เพื่อให้การทำงานของการ์ดมี
ประสิทธิภาพที่สุด
Allocate IRQ to PCI VGA กำหนดการใช้งานหมายเลขอินเทอร์รัปต์ (IRQ) ให้กับสล็อต PCI สำ
หรับติดตั้งการ์ดแสดงผลที่ยังใช้กับสล็อต PCI
PCI IDE BusMaster เปิดโหมดการทำงานแบบ BusMaster ที่สามารถรับ/ส่งข้อมูลได้ โดย
ไม่ใช้การประมวลผลจากซีพียู
IRQ3-IRQ15 กำหนดการเปิดใช้งานอินเทอร์รับต์ต่าง ๆ ให้กับเครื่อง เพื่อนำไปใช้ต่อ
ไป ในที่นี้เรากำหนดเป็น Available
4.6 เมนู USB Configuration
พอร์ตเชื่อมต่อ USB เป็นมาตรฐานใหม่ที่กำลังเข้้ามาแทนที่พอร์ตเชื่อมต่อแบบเดิม เพราะความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลที่สูงกว่า และากรรองรับคุณสมบัติ
Plug&Play ของ Windows ทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หลาย ๆ ตัวหันมาผลิตรุ่นที่ใช้กันเชื่อมต่อแบบ USB กันมากขึ้น ในส่วนนี้เป็นการกำหนดค่าเกี่ยวกับพอร์ต
USB บนเครื่อง

รายละเอียดของตัวเลือกต่าง ๆ ในหน้าจอเมนูย่อย Chipset
ตัวเลือกที่ใช้ คำอธิบาย
USB Function เปิดการทำงานของพอร์ต USB
Legacy USB Support กำหนดส่วนการสนับสนุนของพอร์ต USB ซึ่งเรากำหนดให้เป็นแบบ
อัตโนมัติ (Auto)
USB 2.0 Controller เปิดส่วนควบคุมการทำงานของพอร์ต USB 2.0 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด
ในปัจจุบัน
USB 2.0 Controller Mode กำหนดโหมดการทำงานของพอร์ต USB 2.0 ซึ่งเรากำหนดให้เป็น
FullSpeed คือให้ทำงานด้วยประสิทธิภาพสูงสุด
5. เมนู Power : กำหนดระบบประหยัดพลังงาน
Power Management หรือ PM เป็นตัวที่ช่วยทำให้ประหยัดกระแสไฟฟ้า เนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ การ์ดแสดงผลซึ่งหมุนและทำงานตลอด
เวลา อาจเกิดความร้อนได้ ดังนั้นถ้าอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้พักการทำงาน จะช่วยเพิ่มอายุการใช้งานด้วย โดยในหัวข้อนี้จะมีรายการต่าง ๆ ให้เราสามารถกำหนดได้ดัง
รูป

รายละเอียดของตัวเลือกต่าง ๆ ในหน้าจอเมนู Power
ตัวเลือกที่ใช้ คำอธิบาย
Suspend Mode กำหนดการเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงานแบบ Suspend เมื่อไม่มีการ
ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในที่นี้เรากำหนด ไว้เป็นแบบอัตโนมัติ
(Auto)
ACPI 2.0 Support กำหนดการสนับสนุนระบบประหยัดพลังงานแบบ ACPI (Advanced
Configuration Power Interface) 2.0 ซึ่งจะสนับสนุนระบบประหยัด
พลังงานแบบเก่า คือ APM (Advanced Power Management) ด้วย
ACPI APIC Support กำหนดการสนับสนุนระบบประหยัดพลังงานแบบ ACPI ที่จะทำงานกับ
ระบบ APIC (Advanced Programmable Interrupt Controller) ที่
ช่วยจัดสรรค่าหมายเลขอินเทอร์รัปต์ให้ ซึ่งในที่นี้เราเปิดการสนับสนุน
ระบบนี้ (กำหนดเป็น Enabled)
ในเมนู Power นี้ ยังมีเมนูย่อยสำหรับกำหนดค่าการประหยัดพลังงานอีก คือ APM Configuration และ Hardware Monitor
6. เมนู Exit : ออกจากการปรับแต่ง
หลังจากที่ได้ปรับแต่งค่าต่าง ๆ เสร็จเีรียบร้อยแล้ว เราต้องทำการบันทึกค่าเอาไว้ เพื่อให้มีผลต่อการทำงาน โดยเลือกไปที่เมนู Exit ซึ่งมีตัวเลือกต่าง ๆ
เช่น เลือกบันทึกค่าการปรับแต่ง หรือเลือกยกเลิกการปรับแต่ง (กรณีไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงค่า) ดังนี้

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น